วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

วันจันทร์ที่25มกราคม2559 เวลา 10.30-12.30ห้อง224

เรียนเนื้อหาทฤษฏี  (วันจันทร์)

เรื่องสมองกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย


  • สมองของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ซีก คือซีกซ้ายและซีกขวา 








สมองซีกขวา = ใช้ในการจินตนาการ ความจำ
สมองซีกขวา ควบคุมซีกซ้ายของร่างกาย (คนถนัดซ้าย)
อาชีพ = จำพวก ศิลปินต่างๆ Beethoven, Bach และ Mozart
(จะสังเกตเห็นได้ว่า คนถนัดซ้าย ความจำดีและเก่งทางด้านศิลปะหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง)

สมองซีกซ้าย = ใช้ในการตรรกะ เหตุผล
สมองซีกซ้าย ควบคุมซีกขวาของร่างกาย
อาชีพ =จำพวก นักวิทยาศาสตร์ Einstien, Newton, Bill Gates
การวัดระดับ IQ จะนิยมวัดที่ ส่วน สมองด้านซ้าย


  • การทำงานของสมอง



1. ประสาทรับความรู้สึก
ประสาทรับความรู้สึกมีหลายแบบ ได้แก่ ความรู้สึกสัมผัสเบา ๆ
2. การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การควบคุมการทำงานพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในเด็กแรกคลอด จะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ เด็กอายุ 1-2 เดือนจะไม่ ไขว่คว้าของเล่น แต่ก็มีการเคลื่อนไหวของแขน ขา มือ และ เท้า ซึ่งสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และ สมองส่วนเบซาลแกงเกลีย ที่มีเส้นใยประสาท และไขมันค่อนข้างครบถ้วน เมื่อแรกคลอดจะทำหน้าที่พื้นฐานนี้
3. การมองเห็น
สมองจะต้องอาศัยการมองเห็นภาพ ซึ่งจะนำไปสู่สมอง ด้วยเส้นประสาทตา
4. การได้ยิน
  เมื่อเด็กอายุประมาณ 1 ปี สมองมีการสร้างแผนที่การได้ยินอย่างสมบูรณ์ เช่น เสียงนี้เซลล์ประสาทส่วนนี้รับผิดชอบ อีกเสียงหนึ่ง เซลล์ประสาท อีกที่รับผิดชอบ เป็นต้น
5. สมองกับความฉลาด และความคิด
เราไม่สามารถบอกได้ว่า สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด แต่เชื่อกันว่า สมองส่วนใหม่ ที่เรียกว่า นีโอคอร์เท็กซ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด
6. ความจำ
7. การเรียนรู้ภาษา
ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ กล้ามเนื้อของเรามีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อเสียงแบบอัตโนมัติ ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งแต่เป็นทารก ในครรภ์อายุประมาณ 7 เดือน และหลังคลอดสมองก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที
8. การสร้างบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพของแต่ละคน จะเป็นสิ่งประจำตัวของคนคนนั้น ที่ทำให้แตกต่างจากคนอื่น
9. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)
ระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วย ประสาท 2 ส่วน ที่เรียกว่า ซิมพาเทติก (Sympathetic) และ พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย


การนำมาประยุกต์ใช้
  • ใช้สมองซีกขวาในการจินตนาการ ความจำ
  • ใช้สมองซีกซ้าย ในการตรรกะ เหตุผล
  • อธิบายให้เด็กรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองแต่ละซีกว่ามีความเเตกต่างกันอย่างไร

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

รู้ถึงคสามเเตกต่างของสมองทั้งสองซีก เข้าใจที่อาจารย์สอน ระหว่างที่ฟังอาจารย์อธิบายก็มีคุยบ้างเล็กน้อย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์ อาจจะมีคุยกันบ้างนิดหน่อย แต่งกายเรียบร้อยให้ความร่วมมือในการตอบคำถามดีมาก

ประเมินอาจารย์

อาจารย์วางแผนการสอนมาอย่างดีว่าในวิชานี้จะสอนอะไรทำให้กาารเรียนเป็นไปอย่างรวดเร็ว สอนสนุกเข้าใจง่าย 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น