วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6
วันจันทร์ที่15 กุมภาพันธ์ 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224
วันพฤหัสบดีที่ 18กุมภาพันธ์ 2559 เวลา11.30-14.30ห้อง 223

วันจันทร์(ไม่มีเรียน)

วันพฤหัสบดี (เรียนปฏิบัติ)

ครูเข้ามาถึงก็พูดถึงรายละเอียดที่จะพาไปดูงานนอกสถานที่





         
ทำท่าฝึกสมอง







กิจกรรม

กิจกรรมเบนยิม บริหารสมองง  จะแตกต่างจากเเอราบิก  จะช้ากว่า จะช่วยบริหารได้ดี




หลังจากนั้นก็เริ่มกิจกรรมต่อไป คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

เคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่แบบมีจังหวะ



สอนเด็ก
เด็กหาพื่นที่ของตนเองและสำรวจว่าชนกับเพื่อนมั้ย
ขั้นแรกทวนสัญณานให้เด้กฟังเพื่อจะเคลื่อนที่
[  ]*เวลาเคาะจังหวะครูจะไม่หันหลังให้เด็กแต่จะกวาดสายตามองเด็กเสมอ
[  ] หลังจากครูอธิบายเสร็จแล้วก็ให้แบ่งกลุ่ม5คน ให้ตัวเเทนหนึ่งคนเป็นครู
กลุ่มที่1ออกมาทำกิจกรรม สร้างสถานการณ์ว่าตัวเองเป็นครูและเพื่อนๆเป็นเด็ก โดยกลุ่มแรกจะมีอาจารย์คอยช่วยเเนะนำ




กลุ่มที่2ออกไปทำกิจกรรม (กลุ่มของดิฉันเอง) อาจารย์ก็จะคอยช่วยดู




กลุ่มที่3 ออกมาทำกิจกรรมอาจารย์ก็ยังมาช่วยดู






กลุ่มที่4 กลุ่ม สุดท้ายเเล้ว



เมื่อครบทุกกลุ่มครูพูดสรุป

การนำมาประยุกต์ใช้
นำจังหวะที่เรียนในวันนี้ไปใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย การเคาะจังหวะ การหาพื้นที่ของตัวเอง
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถทำตามจังหวะได้เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน ตั้งใจเรียน 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่ทำ 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุกทำให้ไม่ง่วงแต่งกายเหมาะสมกับวิชาที่สอน







วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224
วันพฤหัสบดีที่ 11กุมภาพันธ์ 2559 เวลา11.30-14.30ห้อง 223


เรียนเนื้อหาทฤษฏี  (วันจันทร์) 

เรื่องความสามารถทางการคิด

ความสามารถทางการคิด
  • ลักษณะการคิด
  • ทักษะการคิด
  • กระบวนการคิด
ทักษะการคิด
ทักษะทากคิดขั้นพื้นฐานที่สำคัญ
(basic thinking skills)
ความสามารถในการคิดที่จำเป็น ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นทักษะย่อย  ที่มีกระบวนการขั้นตอนการคิดไม่มากเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่ซับซ้อน แบ่งเป็น
    - ทักษะการสื่อความหมาย
    - ทักษะการคิดที่เป็นแกนสำคัญ
ทักษะการคิดขั้นสูง
(higher order thinking skills)
ความสามารถในการคิดที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนมากและซับซ้อน ต้องใช้ทักษะพื้นฐานหลายทักษะผสมผสานกันในการคิด
ลักษณะการคิด
      เป็นคุณสมบัติของการคิดที่นำไปใช้ในการดำเนินการคิดควบคู่กับการคิดอื่น เพื่อให้การคิดนั้นๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
กระบวนการคิด
เป็นการคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อช่วยในการคิดนั้นประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของการคิด แต่ละกระบวนการคิดจะประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ และในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด หรือ ลักษณะการคิดจำนวนมาก
กิจกรรมการคิดที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม
ให้บอกสิ่งต่าง ๆ ตามที่กำหนดให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา  5 นาที
                   จงบอกประโยชน์ของก้อนหิน  มาให้มากที่สุด
                   จงบอกสิ่งที่มีลักษณะ  แบน  ให้มากที่สุด
                   คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ     มีอะไรบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด
                   ถ้าคนเราไม่จำเป็นต้องนอน  อะไรจะเกิดตามมาบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด
                   ถ้าหากยุงตัวโตเท่าคน  อะไรจะเกิดตามมาบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด

เป็นต้น
สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย
สมรรถนะ (Competency) F คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
          3 ปี วิ่งและหยุดเองได้
          4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
          5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
          3 ปี พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
          4 ปี ช่วยเหลือเพื่อน
          5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง : ความทรงจำ
          3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
          4 ปี บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
          5 ปี บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          3 ปี แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
          4 ปี แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
          5 ปี แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม
ความสำคัญ
<  ความสำคัญทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
<  สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
<  ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน คู่มือช่วยแนะแนว
<  ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
<  ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น
ข้อตกลงเบื้องต้น
เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป
สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
(1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย     
(2) พัฒนาการด้านสังคม
(3) พัฒนาการด้านอารมณ์                            
(4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
(5) พัฒนาการด้านภาษา                    
(6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
(7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์



วันพฤหัสบดีที่ 11(ไม่ได้เรียน)


การนำมาประยุกต์ใช้

  • การใช้ทักษะในการคิด การเคลื่อนไหว
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจเนื้อหามากขึ้น เกี่ยวกับกระบวนการคิดต่าง และสมรรถนะของเด็กในเเต่ละช่วงวัย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาอย่างดีทำให้การสอนเป็นไปอย่างเข้าใจไม่งง แต่งกายเรียบร้อย

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา11.30-14.30ห้อง 223

เรียนเนื้อหาทฤษฏี  (วันจันทร์) นำเสนองานแต่ละกลุ่ม


เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับ  การเคลื่อนไหวและจังหวะ 



  •           ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ 



น้นการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ ได้แก่
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งผล (Law of Effects)



  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 

       เพียเจต์ (Piaget. 1964) อธิบายว่าพัฒนาการทาง สติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัส ต่อมาจึงเกิดความคิดทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ

ทฤษฎีทางด้านสังคม





  • นักทฤษฎีอิริสัน


   อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม

อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม การรู้สึกผิด
สามขั้นแรกเป็นขั้นพัฒนาการที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ ความรู้สึกด้อย
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน ความอ้างว้างตัวคนเดียว
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง ความคิดถึงแต่ตนเอง
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง 


  • นักทฤษฎีอัลเบิร์ต แบดูรา

อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ                สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ 
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process) 
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process) 
3. กระบวนการแสดงออก (motor reproduction process)
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process) 

ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย 








  • ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์

เซลล์   ใช้คำว่าวุฒิภาวะ (maturation) เพื่อหมายถึงการเปลี่ยนแปลง  รูปแบบ (pattern) และรูปร่าง (shape) ของพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากยีนส์ (genes) หรือความพร้อมของกล้ามเนื้อและระบบประสาทจะปรากฏเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
กีเซลล์ (Gesell )กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
กีเซลล์  ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 
1.พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  
2.พฤติกรรมด้านการปรับตัว
3.พฤติกรรมทางด้านภาษา
4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม 



  • ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Jerome S. Bruner)

ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ 4 ข้อ คือ
1.แรงจูงใจ (Motivation) 
2.โครงสร้าง (Structure)
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence)
4.การเสริมแรง (Reinforcement)
บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สิ่งที่พบเห็น

 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์



  • ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด

กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองในการคิดหลายทิศทาง ซึ่งมีองค์ประกอบความสามารถในการริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความสามารถในการแต่งเติมและให้คำอธิบายใหม่ที่เป็นการติดตามหลักเหตุผลเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัยซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่นทความคิดละเอียดลออ
  • ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์

นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่ง
ที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
                ทอร์แรนซ์เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ  “The creative problem solving process”
ขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
ขั้นเริ่มคิด
ขั้นครุ่นคิด
ขั้นปรับปรุง
ขั้นเกิดความคิด


เรียนปฏิบัติ (วันพฤหัสบดี)

  •  เมื่อเข้าห้องไปสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกเลยก็คือปั้มใบมาเรียนของวันนี้ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ดูวีดีโอ เสียตัวเสียใจ และให้ข้อคิดจากวีดีโอที่ให้ดู
  •   แล้วต่อด้วยการบริหารสมองก่อนเขาสู่การเรียนเพื่อให้ผ่อนคลายไม่เครียด
  • หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลม และให้แต่ละคนคิดท่าการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละหนึ่งท่า หลังจากที่ทุกคนคิดท่าไว้ในใจแล้ว ก็เริ่มทำท่าที่ตัวเองคิดไว้โดยเริ่มจากอาจารย์ แล้ววนมาทางด้านซ้ายเมื่อถึงใครคนนั้นต้องออกมาหน้าห้อง ทำท่าของตัวเองแล้วให้เพื่อนทำตามซึ่งท่าของแต่ละคนก็มีความยากง่ายแตกต่างกันไป  กว่าจะทำครบทุกคนทุกท่า ก็ทำให้ทุกคนเริ่มอ่อนหล้า อาจารย์ใจดีปล่อยให้พักเหนื่อย15นาที แต่ระหว่างการพักนั้น ก็ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5คน ให้คิดท่าการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละ2ท่ารวม5คน ก็เป็น10 ท่าพอดี
  • เมื่อครบ 15 นาที่ ของการพักแล้วอาจารย์ก็ให้กลุ่มที่พร้อมแล้วออกไปทำท่าทางให้เพื่อนดู โดยที่เพื่อนกลุ่มอื่นจะนั่งดู เมื่อทุกกลุ่มทำครบแล้วอาจารย์ก็พูดสรุปกิจกรรมที่ทำในวันนี้ 


 การนำมาประยุกต์ใช้
  • นำแนวคิดของนักทฤษฏีเหล่านี้ไปปฏิบัติใช้กับเด็ก
  • สอนการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ให้เด็กได้
  • ใช้เป็นท่าออกกำลังกายได้ในกรณีที่มีพื้นที่แคบๆได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

เข้าใจเกี่ยวกับท่าทางของการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ สามารถคิดท่าทางขึ้นมาประกอบกับจังหวะของเพลงได้

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของอาจารย์ มีความสามัคคีในการทำงาน

ประเมินเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ทำให้การสอนของอาจารย์ไม่น่าเบื่อ อาจารย์แต่งกายเหมาะสมกับวิชาที่สอน พูดจาไพเราะน่าฟัง