วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

เรียนชดเชย วันพุธที่27เมษายน พ.ศ.2559


วันนี้เป็นการนัดรวมกันทั้ง 3 เซค เพราะสอนเขียนแผนการเคลื่อนไหวและจังหวะ ว่าจะเขียนในลักษณะรูปแบบใด

องค์ประกอบของแผน

  • วัตถุประสงค์
  • สาระการเรียนรู้
             -สาระที่ควรเรียนรู้
             -ประสบการณ์สำคัญ
  • กิจกรรมการเรีบนรู้
  • สื่อ/แหล่งเรียนรู้
  • การวัดและการประเมินผล
  • การบูรณาการ

การเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
  • การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
  • การเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย

การนำมาประยุกต์ใช้
นำแผนการเคลื่อนไหว ไปสอนกับเด็กได้จริงและสามารถนำแผนที่เขียนไว้ไปปรับใช้ในการฝึกสอนได้อีกด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจการเขียนแผนของแต่ละกิจกรรมและสามารถเขียนแผนได้

ประเมินเพื่อน
เนื่องจากวันนี้มีเรียนพร้อมกันทั้งสามเซคก็ทำให้วุ่นวาย เสียงดัง แต่เมื่ออาจารย์พูดเพื่อนๆก็เงียบเสียงลง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนเขียนแผนเข้าใจทำให้ไม่งง เเต่งกายสุภาพเหมาะสมกับการสอน

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13

วันจันทร์ที่18และวันพฤหัสบดีที่21เมษายน พ.ศ.2559

วันจันทร์

  • เป็นการสอนการเคลื่อนไหวประกอบเพลง โดยจะสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ5คน
การเคลื่อนไหวประกอบเพลงอาจารย์จะกำหนดหน่วยให้ว่ากลุ่มไหนจะได้หน่วยอะไร วิธีการสอนการเคลื่อนไหวประกอบเพลง มีขั้นตอนดังนี้
  1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
  2. การเคลื่อนไหวประกอบเพลง จะร้องเพลงให้เด็กฟังก่อนหนึ่งรอบแล้วทำท่าทางประกอบ แล้วให้เด็กทำตาม
  3. ผ่อนคลาย

กลุ่มที่1 
ได้หน่วยครอบครัว จะต้องหาเพลงที่เกี่ยวกับครอบครัวมาทำกิจกรรม 
กลุ่มที่2 
ได้หน่วยตัวฉัน  จะต้องหาเพลงที่เกี่ยวกับครอบครัวมาทำกิจกรรม 
กลุ่มที่3 
ได้หน่วยดรงเรียน จะต้องหาเพลงที่เกี่ยวกับครอบครัวมาทำกิจกรรม 
กลุ่มที่4
 ได้หน่วยผลไม้ จะต้องหาเพลงที่เกี่ยวกับครอบครัวมาทำกิจกรรม 



วันพฤหัสบดี
  • สอนการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์  โดยจะสอนเป็นคู่
        การสอนการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์นั่นสามมารถหาอุปกรณ์จากสิ่งรอบตัวได้ เช่น  แก้ว  ขวด  ตุ๊กตา และอื่นๆ อุปกรณ์ที่เตรียมาจะต้องมีจำนวนตามจำนวนของเด็ก  หรือจะให้เด็กๆหาอุปกรณืภายในห้องเรียนก็ได้

   การเเจกอุปกรณ์ให้เด็กจะเดินแจกเด็กหรือให้เด็กออกมาหยิบทีละคนก็ได้อันนี้ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะแจกอุปกรณ์ด้วยวิธีใด

การเลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ มีขั้นตอนดังนี้
  1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน คือการกำหนดสัญญาณต่างๆให้เด็ก
  2. การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์  แจกอุปกรณ์ให้เด็ก แล้วเราจะให้เด็กทำอะไรกับอุปกรณ์ก็บอกเด็ก 
  3. เมื่อเด็กเริ่มเหนื่อยแล้วหรือครูผู้สอนเห็นว่า เหมาะสมกับเวลาที่ทำแล้ว ก็ให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวด  นอนกับพื้นแล้วหลับตา  
  • อาจารย์ให้เเต่ละคู่ออกไปสอน


การนำมาประยุกต์ใช้
เราสามารถนำการสอนทั้งสองแบบไปใช้สอนกับเด็กได้ โดยการหาอุปกรณ์จากสิ่งของใกล้ตัว  หรือจะเป็นการสอนแบบประกอบเพลงก็จะทำให้เด็กสนุกเพลิดเพลิน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถสอนได้อาจจะมีติดๆขัดๆบ้างแต่ก้เข้าใจขั้นตอนการสอนต่างๆ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือในการเเสดงเป็นเด็กมาก เพื่อนๆน่ารักทุกคน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารัก แต่งกายเหมาะสมกับรายวิชา ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการสอยอยู่ตลอด



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12
วันจันทร์ที่4และวันพฤหัสบดีที่7เมษายน พ.ศ.2559

วันจันทร์ 
 อาจารย์พูดให้ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมการปฎิบัติตนอย่างเหมาะสมในสังคมมสมัยนี้ การเป็นครูที่ดีและการเป็นนักศึกศึกษาที่ดี




วันพฤหัสบดี

  • ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้สอน การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง มาสอนให้ครบทุกคน โดยให้เพื่อนที่สอนแล้วไปเป้นผู้ช่วยสอนให้กับเพื่อน เพื่อความรวดเร็วในการสอน



การนำมาประยุกต์ใช้
นำการเคลื่ิอนไหวตามข้อตกลงไปใช้กับเด็กได้ในอนาคตเราจะทำข้อตกลงอะไรกับเด็กก็ได้แต่ก็ต้องดูความเหมาะสมด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สาใารถออกไปสอนเพื่อนๆได้เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์บอก แต่ก็มีบางครั้งที่อาจารย์ต้องให้คำแนะนำเพิ่มเติม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจสอนบ้างแต่ก็มีบ้างคนที่อาจารย์ต้องคอยให้คำแนะนำ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักเป็นกันเอง ถ้าไม่เข้าใจก้ถามอาจารย์ได้ ให้คำแนะนำและคำปรึกษาดีมาก

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

วันจันทร์ที่28มีนาคม2559 เวลา10.30-12.30 

วันจันทร์

         วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้สอนตามคำบรรยายมาสอนให้ครบทุกคน เมื่อสอนครบทุกคนแล้วอาจารย์ก็ให้คนที่สอนการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงแล้วไปทำเป็นตัวอย่างให้เพื่อนที่ไม่ได้มาเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมาดู

ภาพการทำกิจกรรม







การนำมาประยุกต์ใช้

นำการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงมาใช้กับเด็กได้เพราะเป็นการเคลท่อนไหวที่ง่ายเราสามารถกำหนดให้เด็กเดิน วิ่ง นั่งได้ตามความเหมาะสม

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ให้ความร่วมมือกับเพื่อนโดยไปเป็นเด็กให้เพื่อนสอน ออกไปสอนการเคลื่อนไหวตามข้อตกลงให้เพื่อนดู

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังเวลาที่เพื่อนทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ให้ความร่วมมือดีมาก

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักสอนสนุกทำให้มีความสุขกับการเรียน


วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

วันจันทร์ที่21มีนาคม เวลา10.30-12.30 ห้อง601
วันพฤหัสบดีที่24มีนาคม เวลา11.30-14.30ห้อง601

วันจันทร์ 

เข้ามาก็ปั้มใบมาเรียนแล้วให้คนที่ยังไม่ได้สอนออกมาสอนจนครบทุกคน


ภาพกิจกรรม




วันพฤหัสบดี

เมื่อเข้ามาถึงที่ห้องอาจารย์ก็ให้คนที่ยังไม่ได้สอนของวันจันทร์ออกมาสอนให้ครบก่อน เมื่อเพื่อนสอนย้อนหลังครบแล้ว อาจารย์ก็เริ่มสอนการเคลื่อนไหวแบบใหม่

การเลื่อนไหวตามข้อตกลงและคำสั่ง  (จะไม่มีอะไรที่ตายตัว)

มีวิธีการสอนดังนี้
  1. ให้เด็กเคลื่อไหวพื้นฐานก่อน
  2. หลังจากที่เด็กเคลื่อนไหวพื้นฐานเสร็จแล้วก็พาเด็กเข้าสู่การเคลื่อนไหวตามข้อตดลงและคำสั่ง  ซึ่งเราสารถกำหนดข้อตกลงต่างๆให้เด็กได้ดังนี้
  • ข้อตกลงตามมุมต่างๆเช่นมุมบล้อค มุมดนตรี มุมบ้าน มุมหนังสือ ซึ่งจะกำหนดสัญญาณให้เด็กเช่น ถาครูเคาะ2ครั้งให้วิ่งไปที่มุมบ้าน ถ้าครูเคาะ1ครั้งให้วิ่งไปที่มุมบล้อคเป็นต้น
  • ข้อตกลงการใช้สัญลักษณ์รูปภาพ เช่นมีรูปภาพอยู่สามรูปคือ วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่มยม เราจะต้องกำหนดสัณญาณกับเด็กคือถ้าครูหยิบรูปสามเหลี่ยมขึ้นมาให้เด็กปรบมือ3ครั้ง ถ้าครูหยิบรูปวงกลมขึ้นมาให้ปรบมือ1ครั้งเป็นต้น
  • แจกรูปสัญลักษณ์ แล้วกำหนอว่าจะให้เด็กที่ถือรูปอะไรวิ่ง
  • กำหนดให้สามเหลี่ยมร้องเพลง  สี่เหลี่ยมปรบมือ  วงกลมเต้น เป็นต้น
      3. หลังจากเคลื่อนไหวตามข้อตกลงแล้วก็ให้เด็กผ่อนคลายโดยการนวดส่วนต่างๆของร่างกาย


เมื่อครูอธิบายเสร็จแล้วก็ขอตัวแทนออกไปทำให้เพื่อนๆดู หลังจากนั้นก็ให้แต่ละคนคิดว่าจะใช้ข้อตกลงอะไรกับเด็ก  ออกไปสอนโดยมีเพื่อนๆเป็นเด็กให้


ภาพระหว่างทำกิจกรรม







การนำมาประยุกต์ใช้
  • นำไปใช้กับเด็กได้จริง เช่นการใช้การเคลื่อนไหวตามข้อตกลงให้เด็กจับคู่ กลุ่ม การแบ่งหน้าที่ของเด็ก การทำให้เด็กกล้าแสดงออก

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจและสามารถปฎิบัติตามที่อาจารย์สอนได้เป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก กล้าแสดงออก มีน้ำใจ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักเป็นกันเองมาก ให้คำแนะนำที่ดีพุดเพราะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9
วันจันทร์ที่ 14มีนาคม 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224

วันพฤหัสบดีที่17มีนาคม2559 เวลา11.30-14.30ห้อง34-601

วันจันทร์

ครูให้คนที่ยังไม่ทำการสอนในวันพฤหัสบดีมาสอนให้ครบทุกคน การสอนก็เป็นเหมือนวันพฤหัสที่ผ่านมาเลยมีขั้นตอนการสอนเหมือนกัน




วันพฤหัสบดี

วันนี้เรียนเรื่อง การเคลื่อนไหวแบบคำบรรยาย

  • สอนเคลื่อนไหวพื้นฐาน
  • เล่าเรื่องแล้วให้เด็กแสดงท่าทางตามการเล่าเรื่อง
  • การเคลื่อนไหวแบบผ่อนคลาย
การเรียนวันนี้อาจารย์ก็ขอตัวแทนเพื่อนๆเพื่อไปทำการสาธิต

มีวิธีการดำเนินกิจกรรมดังนี้


1.ให้เด็กๆนั่งที่พื้นเพื่อสร้างข้อตกลงกับเด็ก กำหนดสัญญาณให้เรียบร้อย
2.หลังจากนั้นให้ลุกหาพื้นที่ของตัวเอง จะต้องให้เด็กอยู่ห่างกันพอสมควร ถ้าเด็กติดกันมากเกินไปครูสามารถเดินไปแยกเด็กออกได้เลย
3.แล้วต่อด้วยการเคาะสัญญาณตามที่ตกลงกับเด็กเอาไว้แล้ว
4.หลังจากนั้นก็พาเด็กเข้ากิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบคำบรรยาย ครูก็สร้างจินตนาการเล่าเรื่องต่างๆให้เด็กทำตาม
5.เมื่อจบจากการเลื่อนไหวแบบบรรยายครูก็จะพาเด็กผ่อนคลายโดยให้หลับตาแล้วสร้างสถานการณ์ให้น่าตื่นเต้นแล้วให้เด็กกลับไปนั่งที่

เมื่ออาจารย์สาธิตจบแล้วก็ให้นักศึกษาออกไปสอน โดยมีเพื่อนๆเป็นเด็กให้


ภาพระหว่างการทำกิจกรรม







การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เข้าใจและสามารถนำไปสอนได้

ประเมินเพื่อน
เพื่อนให้ความร่วมมือดีมาก ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารักเป็นกันเองมากๆไม่เข้าใจตรงไหนก็สามารถถามได้




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
วันจันทร์ที่ 7มีนาคม 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224

วันพฤหัสบดีที่10มีนาคม2559 เวลา11.30-14.30ห้อง223

วันจันทร์ที่ (ไม่มีเรียน)
-

ไม่มเรียนน


วันพฤหัสบดี   (เรียนปฏิบัติ)

  • เมื่อเข้าห้องมาครูก็ให้ปั้มใบมาเรียน
  • ครูสนทนากับนักศึกษา
  • แจ้งการเปลี่ยนอาคารเรียนจากอาคาร3ไปเรียนที่อาคาร34
  • หลังจากนั้นครูก็เริ่มเข้าสู่การเรียนการสอนโดยเริ่มจากขอตัวแทน5คน เพื่อไปสาธิตการเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดูก่อน  พูดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบเต็มรูปแบบ  เคลื่อนไหวพื้นฐาน เคลื่อนไหวสัมพันธ์กับเนื้อหา  เคลื่อนไหวแบบผ่อนคลาย 
โดยมีวิธีการดำเนินกิจกรรมดังนี้
  1. ให้เด็กๆนั่งที่พื้นเพื่อสร้างข้อตกลงกับเด็ก กำหนดสัญญาณให้เรียบร้อย
  2. หลังจากนั้นให้ลุกหาพื้นที่ของตัวเอง จะต้องให้เด็กอยู่ห่างกันพอสมควร ถ้าเด็กติดกันมากเกินไปครูสามารถเดินไปแยกเด็กออกได้เลย
  3. แล้วต่อด้วยการเคาะสัญญาณตามที่ตกลงกับเด็กเอาไว้แล้ว
  4. เมื่อเสร็จจากการทำวัญญาณก็จะเป็นกิจกรรมผู้นำผุ้ตามโดยให้เด็กหนึ่งคนออกมาทำท่าทางต่างๆให้เพื่อนดูและให้เพื่อนทำตาม
  5. และต่อด้วยการเคลื่อนไหวแบบผ่อนคลาย จะให้เด็กนั่งลงกับพื้น นวดขาและเเขนของตัวเองซึ่งแบบนี้จะเป็นการผ่อนคลายแบบทั่วไป เราสามารถเพิ่มได้คือสร้างจินตนาการให้เด็ก สมมติให้เด็กว่าเด็กกำลังนอนอยู่ยนหญ้าที่นิ่มๆพร้อมกับให้เด็กหลับตา แล้วก็พูดเพื่อทำให้เด้กตื่นเต้นอาจจะเป็นผีเสื้อบินมาเกาะที่ขา แขน เป็นต้น แล้วปล่อยให้เด็กหลับตาทิ้งไว้ประมาณ 10-15นาที แล้วให้เด็กกลับไปนั่งที่

เมื่ออาจารย์สาธิตให้ดูแล้วก็ให้นักศึกษาแต่ละคนฝึกซ้อมของตัวเองตามตัวอย่างที่อาจารย์สาธิต  เมื่อเวลาผ่านไปอาจารย์ก็ให้ออกไป สอนโดยมีเพื่อนๆเป็นเด็กนักเรียนให้ 


ภาพระหว่างทำกิจกรรม









ในการทำกิจกรรมวันนี้ไม่สามารถทำได้ครบทุกคน คนที่ยังไม่ได้ทำก็ต้องไปทำในวันจันทร์ที่14มีนาคม2559



การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถทำกิจกรมมตามที่อาจารย์กำหนดได้ มีข้อผิดพลาดบ้าง 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน และสามารถทำกิจกรรมตามกำหนดได้

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนเข้าใจ และหากนักศึกษามีข้อสงสัยตรงไหนอาจารย์ก็แนะนำให้ 





วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งทึ่7
วันจันทร์ที่29 กุมภาพันธ์ 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224

วันพุธที่2มีนาคม 2559 เวลา 07.30-16.00

วันจันทร์ (สอบกลางภาค)

วันพฤหัส (ไม่มีเรียน)  ไปดูงานนอกสถานที่ วันพุธที่2 มีนาคม 2559 โรงเรียนพิบูลเวศม์

เมื่อมาถึงโรงเรียนก็มีคุณครูพามาที่ห้องประชุมชั้น2 รดหว่างที่รอเพื่อนๆดิฉันก็เดินดูสิ่งที่จัดเเสดงภายในห้องและยืนมองน้องๆเข้าแถว  ออกกำลังกาย 





เด็กๆเข้าแถวตอนเช้า


และระหว่างนั่งรอ ก็มีครูอ้อมมาแนะนำโรงเรียน
จะเเบ่งระดับการศึกษาออกเป็น2ระดับ
  • ระดับปฐมวัย
  • ระดับประถมศึกษา
เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล 

ผู้บริหาร นายสุวรรณ ยะรังวงศ์  จบการศึกระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
รองผู้อำนวยการ  นายศรีจันทร์ ตักสาธรรม 

หลังจากนั้นก็ดูวีดีโอแนะนำโรงเรียน


เมื่อดูวีดีโอแนะนำโรงเรียนเสร็จแล้วครูอ้อม ก็กล่าวเปิด การอบรมแนะนำบุคลากรที่เป็นหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ต่อจากนั้นผู้อำนวยการโรงเรียนก็กล่าวเปิดการอบรม เมื่อผู้อำนวยการพูดจบ ก็ถงคิวของครูบาสไปพูด  แล้วก็ไปรับอาหารว่าง







หลังจากนั้นครูบุ๋มก็มาบรรยาย 

  • แนวคิดที่นำมาใช้จะมีหลากหลาย
  • การเล่น
  • การเลี่ยงดู
  • วัฒนธรรม
  • การสอนแบบโครงการ
  • จะเรียนรู้เป็นหน่วยการเรียนรู้
  • การสอนแบบโครงการใช้มานานถึง 12 ปี
  • ใน1ปีการศึกษาจะสอน2เรื่อง

เมื่ออธิบายเสร็จก็ให้ไปเดินดูตามห้องเรียน ต่างๆ



กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ




กิจกรรมศิลปะ


เมื่อเดินดูจนเกือบครบทุกห้องเรียน แล้วก็ขึ้น ไปรับประทานอาหารเที่ยง


ภายบ่าย

เป็นการบรรยายของครู ศิริประภาพรรณ ตุ้มวิจิตร
  • เป้าหมายของโครงการนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • ความสนใจในวิทยาศาสตร์
  • ความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน
ความเป็นมาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยของประเทศไทย
  • ด้านเศรษฐกิจ
  • ประเมินระดับนานาชาติ
  • การพัฒนาทางจิตวิทยา
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจในสิ่งที่ครูอธิบาย เข้าใจการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยมากขึ้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆบางคนมาเช้า บางคนมาสาย แต่เพื่อนก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูบรรยาย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายสุภาพ มีเอกสารเเจกให้ครบ ไม่เข้าใจอะไรอาจารย์ก็จะอธิบาย


วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6
วันจันทร์ที่15 กุมภาพันธ์ 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224
วันพฤหัสบดีที่ 18กุมภาพันธ์ 2559 เวลา11.30-14.30ห้อง 223

วันจันทร์(ไม่มีเรียน)

วันพฤหัสบดี (เรียนปฏิบัติ)

ครูเข้ามาถึงก็พูดถึงรายละเอียดที่จะพาไปดูงานนอกสถานที่





         
ทำท่าฝึกสมอง







กิจกรรม

กิจกรรมเบนยิม บริหารสมองง  จะแตกต่างจากเเอราบิก  จะช้ากว่า จะช่วยบริหารได้ดี




หลังจากนั้นก็เริ่มกิจกรรมต่อไป คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

เคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่แบบมีจังหวะ



สอนเด็ก
เด็กหาพื่นที่ของตนเองและสำรวจว่าชนกับเพื่อนมั้ย
ขั้นแรกทวนสัญณานให้เด้กฟังเพื่อจะเคลื่อนที่
[  ]*เวลาเคาะจังหวะครูจะไม่หันหลังให้เด็กแต่จะกวาดสายตามองเด็กเสมอ
[  ] หลังจากครูอธิบายเสร็จแล้วก็ให้แบ่งกลุ่ม5คน ให้ตัวเเทนหนึ่งคนเป็นครู
กลุ่มที่1ออกมาทำกิจกรรม สร้างสถานการณ์ว่าตัวเองเป็นครูและเพื่อนๆเป็นเด็ก โดยกลุ่มแรกจะมีอาจารย์คอยช่วยเเนะนำ




กลุ่มที่2ออกไปทำกิจกรรม (กลุ่มของดิฉันเอง) อาจารย์ก็จะคอยช่วยดู




กลุ่มที่3 ออกมาทำกิจกรรมอาจารย์ก็ยังมาช่วยดู






กลุ่มที่4 กลุ่ม สุดท้ายเเล้ว



เมื่อครบทุกกลุ่มครูพูดสรุป

การนำมาประยุกต์ใช้
นำจังหวะที่เรียนในวันนี้ไปใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย การเคาะจังหวะ การหาพื้นที่ของตัวเอง
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถทำตามจังหวะได้เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน ตั้งใจเรียน 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่ทำ 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุกทำให้ไม่ง่วงแต่งกายเหมาะสมกับวิชาที่สอน







วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559   เวลา 10.30-12.30 ห้อง 224
วันพฤหัสบดีที่ 11กุมภาพันธ์ 2559 เวลา11.30-14.30ห้อง 223


เรียนเนื้อหาทฤษฏี  (วันจันทร์) 

เรื่องความสามารถทางการคิด

ความสามารถทางการคิด
  • ลักษณะการคิด
  • ทักษะการคิด
  • กระบวนการคิด
ทักษะการคิด
ทักษะทากคิดขั้นพื้นฐานที่สำคัญ
(basic thinking skills)
ความสามารถในการคิดที่จำเป็น ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นทักษะย่อย  ที่มีกระบวนการขั้นตอนการคิดไม่มากเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่ซับซ้อน แบ่งเป็น
    - ทักษะการสื่อความหมาย
    - ทักษะการคิดที่เป็นแกนสำคัญ
ทักษะการคิดขั้นสูง
(higher order thinking skills)
ความสามารถในการคิดที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนมากและซับซ้อน ต้องใช้ทักษะพื้นฐานหลายทักษะผสมผสานกันในการคิด
ลักษณะการคิด
      เป็นคุณสมบัติของการคิดที่นำไปใช้ในการดำเนินการคิดควบคู่กับการคิดอื่น เพื่อให้การคิดนั้นๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
กระบวนการคิด
เป็นการคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อช่วยในการคิดนั้นประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของการคิด แต่ละกระบวนการคิดจะประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ และในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด หรือ ลักษณะการคิดจำนวนมาก
กิจกรรมการคิดที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม
ให้บอกสิ่งต่าง ๆ ตามที่กำหนดให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา  5 นาที
                   จงบอกประโยชน์ของก้อนหิน  มาให้มากที่สุด
                   จงบอกสิ่งที่มีลักษณะ  แบน  ให้มากที่สุด
                   คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ     มีอะไรบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด
                   ถ้าคนเราไม่จำเป็นต้องนอน  อะไรจะเกิดตามมาบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด
                   ถ้าหากยุงตัวโตเท่าคน  อะไรจะเกิดตามมาบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด

เป็นต้น
สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย
สมรรถนะ (Competency) F คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
          3 ปี วิ่งและหยุดเองได้
          4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
          5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
          3 ปี พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
          4 ปี ช่วยเหลือเพื่อน
          5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง : ความทรงจำ
          3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
          4 ปี บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
          5 ปี บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          3 ปี แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
          4 ปี แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
          5 ปี แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม
ความสำคัญ
<  ความสำคัญทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
<  สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
<  ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน คู่มือช่วยแนะแนว
<  ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
<  ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น
ข้อตกลงเบื้องต้น
เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป
สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
(1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย     
(2) พัฒนาการด้านสังคม
(3) พัฒนาการด้านอารมณ์                            
(4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
(5) พัฒนาการด้านภาษา                    
(6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
(7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์



วันพฤหัสบดีที่ 11(ไม่ได้เรียน)


การนำมาประยุกต์ใช้

  • การใช้ทักษะในการคิด การเคลื่อนไหว
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจเนื้อหามากขึ้น เกี่ยวกับกระบวนการคิดต่าง และสมรรถนะของเด็กในเเต่ละช่วงวัย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนแต่งกายเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาอย่างดีทำให้การสอนเป็นไปอย่างเข้าใจไม่งง แต่งกายเรียบร้อย